4. แสงไฟ กล้อง...
คุณเคยสงสัยไหมว่าเหตุใดบางคนจึงดูดีขึ้นกล้องตลอดเวลา พวกเขาไม่ได้พิเศษกว่าแต่อย่างใด เป็นเพราะกล้องต่างหาก และที่สำคัญ แสงไฟด้วย! ทำตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อให้คุณดูดีที่สุด
- จัดตำแหน่งกล้องอยู่ระดับสายตา และให้ศีรษะของคุณอยู่ที่ส่วนบนของหน้าจอ ห้ามอยู่ตรงกลาง
- ใช้แสงอ่อนๆ ที่ไม่ส่องลงโดยตรง หากเป็นไปได้ หากคุณสามารถปรับทิศทางแสงได้ ให้ปรับทิศทางแสงไปที่กำแพงสีขาวด้านหน้าคุณ หากคุณใช้โคมไฟตั้งโต๊ะแบบทั่วไป ให้ใช้แผ่นกระดาษบางๆ กั้นแสงไว้เพื่อกระจายแสง
- แหล่งไฟควรอยู่ด้านหน้าคุณเสมอ ห้ามอยู่ด้านหลังหรือด้านบนศีรษะ
- แสงธรรมชาตินั้นดีที่สุด แสงจากหน้าต่างมักจะดีกว่าอุปกรณ์มืออาชีพต่างๆ เสียอีก
5. แต่งตัวให้เหมาะสม
การเตรียมการหรือการจัดแสงอย่างดีก็ช่วยคุณไม่ได้ หากคุณยังสวมชุดนอนเข้ารับการสัมภาษณ์ แต่งตัวให้ดูดีที่สุดเพื่อแสดงให้ผู้จัดการฝ่ายการว่าจ้างเห็นว่าคุณจริงจังกับงานนี้
- ค้นหาข้อมูลวัฒนธรรมของบริษัทนั้นๆ ก่อนเลือกชุด คุณปู่อาจบอกคุณว่าชุดทำงานนั้นเหมาะที่สุดแล้ว แต่สำหรับหลายๆ บริษัท โดยเฉพาะบริษัทด้านแฟชั่นและเทคโนโลยีนั้น ความเรียบง่ายที่ดูสะอาดสะอ้านนั้นเหมาะสมกว่า
- อย่าแต่งกายด้วยสีที่ดึงดูดสมาธิมากเกินไป โทนสีอัญมณีต่างๆ นั้นค่อนข้างขึ้นกล้อง และไม่ดึงดูดความสนใจที่ไม่จำเป็นมากนัก
6. หมั่นฝึกซ้อม
การสัมภาษณ์ระยะไกลอาจเป็นเรื่องที่น่าอึดอัดใจอยู่บ้าง วิธีเดียวที่จะทำให้สบายใจได้จริงๆ คือ การฝึกซ้อม! หาคนในครอบครัวหรือเพื่อนสักคนให้ช่วยฝึกซ้อมการสัมภาษณ์ทางวิดีโอจำลองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เคล็ดลับในการจัดการกับความรู้สึกให้เป็นธรรมชาติและรู้สึกมั่นใจหน้ากล้องมีดังนี้
- ฝึกสบตากับกล้อง ไม่ใช่คนที่กำลังสัมภาษณ์คุณอยู่ ในตอนแรกอาจจะรู้สึกไม่ค่อยเป็นธรรมชาติไปบ้าง แต่ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการมองกล้องโดยตรงจะช่วยสร้างความรู้สึกเชื่อมถึงกันระหว่างคุณกับผู้สัมภาษณ์ได้มากกว่า
- ยิ้มแย้มและขยับเขยื้อนมากกว่าปกติเล็กน้อย การแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางที่เกินจริงไปบ้างนั้นจะช่วยให้คุณดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นเมื่ออยู่หน้ากล้อง
- พยายามสื่อภาษากายที่ดูมั่นใจและเป็นมิตรอยู่เสมอ นั่งตัวตรงยืดอกตลอดเวลา
- ฝึกตอบคำถามทั่วไปในการสัมภาษณ์ เหตุใดคุณจึงลาออกจากงานเดิม เหตุใดคุณจึงอยากได้งานนี้ เหตุใดคุณจึงเหมาะกับงานนี้ที่สุด จุดอ่อนที่สุดของคุณมีอะไรบ้าง
7. จดบันทึกและติดตามผล
จดบันทึกระหว่างการสัมภาษณ์และส่งอีเมลให้กับผู้รับสมัครหรือผู้จัดการฝ่ายการว่าจ้างภายใน 24 ชั่วโมงหลังจบการสัมภาษณ์ อย่าลืม:
- เขียนข้อเท็จจริงส่วนตัวที่น่าสนใจเกี่ยวกับผู้สัมภาษณ์ของคุณ
- บันทึกว่าพวกเขาอธิบายเกี่ยวกับบทบาทอย่างไรและคุณจะทำงานกับพวกเขาอย่างไร
- ขออีเมลสำหรับการทำงาน
- ส่งบันทึกติดตามผลเพื่อกล่าวขอบคุณผู้สัมภาษณ์ที่สละเวลา หากคุณสามารถอ้างอิงถึงรายละเอียดต่างๆ จากการสนทนาของคุณได้เพื่อทำให้อีเมลของคุณนั้นเฉพาะตัวมากขึ้น ก็จะช่วยได้ดี
Dropbox Paper คือวิธีที่ยอดเยี่ยมในการจดบันทึกและจัดการโน้ตต่างๆ เรียนรู้วิธีใช้งาน Paper ที่นี่