Skip to content (Press Enter)

วิธีวางแผนค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

การบริหารจัดการบ้านอาจเป็นเรื่องเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารการเงิน นี่คือวิธีการจัดระเบียบเมื่อเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของคุณ

true

การเงินส่วนบุคคลเป็นทักษะอย่างหนึ่ง

ไม่ว่าคุณจะออมเงินไว้สำหรับวันหยุดพักผ่อนในวันที่อากาศดีหรือเพียงออมเงินเพื่อเก็บไว้ใช้ยามจำเป็น การเงินส่วนบุคคลควรเป็นสิ่งสำคัญเสมอเมื่อพูดถึงเรื่องในครัวเรือนของคุณ การสร้างนิสัยการใช้จ่ายเชิงบวกและการใช้งบประมาณส่วนตัวเป็นทักษะชีวิตที่ทุกคนควรรู้ รวมถึงเด็กๆ แนะนำเคล็ดลับการกำหนดงบประมาณเหล่านี้ในบ้านของคุณเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับลูกๆ และเพื่อให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น

รู้กระแสเงินสดของคุณ

คุณอาจคิดว่าคำศัพท์อย่างเช่น "กระแสเงินสด" และ "ค่าใช้จ่าย" เป็นคำที่ใช้ในที่ทำงานเท่านั้น แต่การใช้จ่ายเงินให้ดีนั้นเป็นเรื่องทั่วไป ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจหรือเพียงต้องการแน่ใจว่าครอบครัวของคุณไม่ใช้จ่ายมากเกินไป การทำความเข้าใจให้ชัดเจนเกี่ยวกับเงินที่คุณได้รับในแต่ละเดือนและเงินที่คุณจ่ายออกไปเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง คุณไม่สามารถจัดการงบประมาณได้ถ้าคุณไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วคุณมีงบประมาณเท่าใด

ถ้าคุณคิดว่าการจดจำเรื่องทั้งหมดนี้เป็นเรื่องยากเกินไป ให้ลองใช้ Excel เพื่อสร้างแผ่นงานแสดงงบประมาณ และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น คุณควรจัดเก็บข้อมูลนี้ไว้ในเอกสารออนไลน์ที่ปลอดภัยเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงได้ทุกที่และอัปเดตข้อมูลได้เมื่อสถานการณ์ในชีวิตของคุณเปลี่ยนไป ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณต้องแสดงรายการ

  • รายได้ต่อเดือน (รายได้สุทธิและแหล่งรายได้อื่นๆ)
  • การชำระค่าบัตรเครดิต (ตัวเลขโดยประมาณ)
  • เบี้ยประกันที่ถึงกำหนดชำระ (ประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ฯลฯ)
  • การชำระค่าจำนองหรือค่าเช่า
  • เงินกู้นักเรียน (ถ้ามี)
  • ค่าใช้โทรศัพท์มือถือ
  • ค่ากินอยู่ (ค่าอุปโภคบริโภค และค่าสาธารณูปโภคโดยเฉลี่ยต่อเดือน)
  • ค่าใช้จ่ายในการใช้รถหรืองบประมาณการใช้ขนส่งสาธารณะ
  • ค่าดูแลลูก/ค่าสมาชิกการเข้ายิม ฯลฯ
  • เงินออม/เงินฉุกเฉิน (เงินที่คุณตั้งใจจะออมในแต่ละเดือนโดยสามารถทำได้แน่นอน)

เมื่อคุณหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดออกจากเงินเดือนของคุณแล้ว คุณจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าคุณมีรายได้ในครัวเรือนเหลืออยู่เท่าใด

สร้างความคาดหวังในการออมของคุณที่ทำได้จริง

แน่นอนว่าเราทุกคนอยากออมเงินให้ได้ 10,000 บาทต่อเดือน แต่นั่นเป็นไปไม่ได้สำหรับคนส่วนใหญ่ ดังนั้น ให้กำหนดงบประมาณและแผนการใช้จ่ายที่สามารถทำได้ ถ้าคุณตั้งเป้าหมายที่จะประหยัดเงิน 4,000 บาท แต่พบว่าค่าใช้จ่ายรายเดือนของคุณเบียดเบียนเงินส่วนนั้นอยู่ตลอด คุณจะเริ่มคิดว่าคุณใช้จ่ายมากเกินไปอย่างต่อเนื่องและต้องเผชิญกับความเครียดทั้งหมดที่เกิดจากเรื่องนี้ ในความเป็นจริงแล้ว เงินออม 3,000 บาท ยังคงเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจและคุณไม่ควรรู้สึกผิดที่ต้องจ่ายบิล

จับตาดูค่าใช้จ่ายของคุณ

การรู้ว่าคุณสามารถประหยัดอะไรได้บ้างเป็นเรื่องที่ควบคู่ไปกับการรู้ว่าคุณสามารถใช้จ่ายอะไรได้บ้าง เราทุกคนรู้สึกผิดที่คิดว่าการใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ จะไม่สร้างความแตกต่าง แต่รายจ่ายเล็กน้อยเหล่านี้กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อคุณกำหนดงบประมาณรายเดือนของคุณ อย่าจำกัดจำเขี่ยในเรื่องการใช้จ่ายของคุณ ถ้าคุณรู้ว่าคุณใช้จ่ายเงิน 200 บาทต่อสัปดาห์ในการรับประทานอาหารนอกบ้าน ให้คิดส่วนนี้ด้วย หรือบางทีคุณอาจใช้จ่าย 200 บาทกับการอยู่บ้านและใช้บริการสตรีม เมื่อคุณสร้างภาพรวมที่รัดกุมเกี่ยวกับการเงินในบ้านของคุณ ให้พยายามอย่างสุดความสามารถ

ดูว่าธนาคารของคุณช่วยได้หรือไม่

แพลตฟอร์มการธนาคารออนไลน์จำนวนมากอนุญาตให้คุณกำหนดเป้าหมายการออม และจะส่งอีเมลแจ้งเตือนถึงคุณถ้าคุณใช้เงินเกินบัญชี ตรวจสอบกับธนาคารของคุณเพื่อดูว่าคุณสามารถตั้งเป้าหมายหรือจำกัดการใช้จ่ายของคุณได้หรือไม่ เพื่อให้คุณมีคนช่วยควบคุมเงินที่ออกจากบัญชีของคุณในแต่ละสัปดาห์ แม้ว่าธนาคารของคุณจะไม่อนุญาตให้ดำเนินการดังกล่าว แต่ก็ยังมีแอปการใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย และเมื่อคุณมีนิสัยในการติดตามการใช้จ่ายของคุณแล้ว คุณจะมีมุมมองที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่คุณใช้จ่ายในแต่ละเดือน

อย่าทำเอกสารหาย

เมื่อถึงเวลาจ่ายภาษี คุณมักจะหวังให้ตัวคุณเองได้มีการจัดระเบียบเอกสารของคุณดีกว่านี้สักหน่อยในช่วงตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เมื่อใช้แอปสแกนเอกสาร คุณจะสามารถถ่ายภาพและแปลงเอกสารทั้งหมดของคุณให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลได้อย่างง่ายดาย บันทึกเอกสารไว้อย่างปลอดภัยในโฟลเดอร์ Dropbox หรือแบ่งปันด้วยลิงก์ที่มีการป้องกันด้วยรหัสผ่าน แล้วคุณจะควบคุมทุกอย่างได้อย่างรวดเร็ว

ฉันควรกำหนดงบประมาณรายเดือนของฉันเท่าใด

งบประมาณรายเดือนของคุณควรเผื่อค่าใช้จ่ายที่จำเป็นไว้เสมอ ดังนั้น ถ้าคุณมีรายได้ 15,000 บาทต่อเดือนและค่าใช้จ่ายของคุณเท่ากับ 11,000 บาท นั่นหมายความว่าคุณจะมีเงินเหลือ 4,000 บาทเพื่อใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องเป็นหนี้ ถ้าคุณต้องออมเงิน 2,000 บาท คุณจะมีเงินเพียง 2,000 บาท เห็นได้ชัดว่ายิ่งงบประมาณของคุณน้อย คุณก็ยิ่งทำตามนั้นได้ยากขึ้น โดยทั่วไปแล้ว การประเมินค่าใช้จ่ายของคุณให้สูงเกินไปย่อมดีกว่าการประเมินให้ต่ำเกินไป เพราะในท้ายที่สุดแล้ว การจัดการหนี้เป็นเรื่องที่ยากกว่าการทำตามงบประมาณมาก

การกำหนดงบประมาณมีเทคนิคที่แตกต่างกันที่คุณสามารถลองใช้เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีนิสัยการใช้เงินที่ดี เช่น

กฎ 50/30/20

Elizabeth Warren เป็นผู้คิดกฎนี้ขึ้น โปรแกรมการกำหนดงบประมาณ 50/30/20 จะแบ่งการเงินของคุณออกเป็น "ความจำเป็นต่างๆ" (ค่าเช่า บิลต่างๆ ฯลฯ) "ความต้องการ" (งานอดิเรก การชอปปิง ฯลฯ) และ "การออม" นั่นหมายความว่า “ความจำเป็น” ทั้งหมดของคุณควรเท่ากับ 50% ของรายได้โดยรวม ซึ่งอาจหมายถึงการลดค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคลงหรือหาข้อตกลงด้านสาธารณูปโภคที่ถูกลง "ความต้องการ" ของคุณควรเท่ากับ 30% ของรายได้ และ "เงินออม" ของคุณควรสูงถึง 20% การตั้งเป้าหมายไว้เช่นนี้เป็นการกำหนดโครงสร้างและรับประกันในเรื่องการบริหารจัดการเงินของคุณ นอกจากนี้ ยังเป็นกฎที่ค่อนข้างยืดหยุ่น เนื่องจากการมีงบประมาณ 30% ที่กำหนดไว้สำหรับการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นทำให้คุณสามารถเพิ่มการจัดสรรอีก 10% ให้เป็นเงินออมแทนได้อย่างง่ายดาย

วิธีการใช้ซองจดหมาย

วิธีนี้เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้ที่ต้องการมีประสบการณ์ตรงในการใช้เงินของตนเพราะเป็นระบบการออมเงินสด ในขณะที่อาจเป็นข้อดีสำหรับทุกคนที่ไม่ได้ใช้จ่ายแบบไม่ใช้เงินสด แต่ก็หมายความว่าคุณจะไม่ได้เพลิดเพลินไปกับการมีบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าคุณมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเกินตัวน้อยลงถ้าคุณจ่ายเป็นเงินสด

วิธีนี้จะช่วยให้คุณกำหนดงบประมาณของคุณเป็นซอง ซองหนึ่งสำหรับค่าอุปโภคบริโภค ซองหนึ่งสำหรับงานอดิเรก ฯลฯ คุณนำซองที่กำหนดไว้ไปด้วยทุกครั้งที่คุณไปที่ร้านค้า ไปดูหนัง หรือรับประทานอาหารนอกบ้าน และเมื่อเงินสดหมดก็ไม่ต้องใช้จ่ายในส่วนนั้นอีกจนกว่าเงินเดือนจะออก วิธีนี้ทำให้เข้าใจได้ชัดเจนว่าคุณมีเงินเหลือเท่าใด เพราะเงินอยู่ในมือคุณจริงๆ

ฉันจะประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้อย่างไร

คุณสามารถลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของคุณได้หลายวิธี ได้แก่

  • การใช้แบรนด์ที่ถูกกว่าที่ซูเปอร์มาร์เก็ต
  • การหาข้อตกลงการใช้พลังงานที่ถูกกว่า
  • การพิจารณาว่า “ของฟุ่มเฟือย” ใดที่ไม่จำเป็น

เมื่อพูดถึงของฟุ่มเฟือย คุณมีอยู่กี่รายการ ตัวอย่างเช่น อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกบ้าน แต่คุณกำลังจ่ายค่าบริการข้อมูลซึ่งไม่ได้มีความจำเป็นจริงๆ สำหรับคุณอยู่หรือไม่ บ้านหลังที่มีคนทำงานอิสระและนักเล่นเกมตัวยงจำเป็นต้องใช้ความเร็วสูงกว่าที่ครอบครัวหนุ่มสาวต้องการใช้ เป็นต้น หาข้อมูลและตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้รับสิ่งที่คุ้มค่าที่สุดจากเงินที่ใช้จ่ายไป

ใช้เงินอย่างชาญฉลาด

เมื่อพูดถึงค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ความรู้ถือว่าเป็นพลังอย่างแท้จริง มองภาพรวมที่ชัดเจนและถูกต้องเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายของคุณ และอย่าตัดเครื่องมือดิจิทัลที่มีประโยชน์ออกจากรายการ เพราะถ้าเครื่องมือเหล่านั้นใช้ได้ในที่ทำงานของคุณ ก็ย่อมใช้ได้สำหรับบ้านของคุณด้วย Dropbox ช่วยให้คุณจัดเก็บใบเสร็จรับเงิน เอกสารทางการเงิน และงบประมาณไว้ในที่เดียวที่เข้าถึงได้ง่าย และเมื่อใช้แผนบริการ Dropbox Family คุณก็จะมีเครื่องมือเพิ่มเติมสำหรับการแบ่งปันและรักษาความปลอดภัยของไฟล์งบประมาณของคุณได้ง่ายขึ้น ซึ่งแม้ว่าคุณจะเลือกใช้ระบบการออมเงินสด อย่างเช่นการใช้ซองจดหมายแบ่งเงินออม คุณก็สามารถสร้างบันทึกค่าใช้จ่ายแบบดิจิทัลและเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าคุณใช้จ่ายเงินไปกับอะไร การบันทึกแผ่นงานแสดงงบประมาณและเอกสารทางการเงินด้วย Dropbox จะช่วยให้คุณเห็นเอกสารเหล่านี้บนอุปกรณ์หลายเครื่อง แบ่งปันข้อมูลกับรูมเมทและครอบครัวได้สะดวก และที่สำคัญที่สุดคือคุณจะได้ทำตามแผนอยู่เสมอ

ควบคุมงบประมาณของคุณ

เปรียบเทียบแผนบริการ