Skip to content (Press Enter)

วิธีจัดเก็บเพลงโดยไม่ต้องบีบอัดเสียง

ค้นพบวิธีจัดการไฟล์เพลงแบบ Lossles ที่ไม่มีการบีบอัดและไม่ต้องเสียพื้นที่ดิสก์

เก็บรักษาไฟล์ไว้ให้ปลอดภัยในบริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์ของ Dropbox
บุคคลหนึ่งเลือกไฟล์เสียงความละเอียดสูงในโฟลเดอร์และเลือก ‘ย้ายไปยัง Dropbox’ เพื่อให้แน่ใจว่าไฟล์นั้นจะถูกจัดเก็บไว้อย่างปลอดภัยในระบบคลาวด์

การทำความเข้าใจคุณภาพเสียง

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ฟังที่มีความหลงใหลหรือเป็นนักสร้างสรรค์ที่มีความหลงใหล คุณต้องการแน่ใจว่าไลบรารีเพลงของคุณมีคุณภาพดีที่สุดสำหรับแทร็กเพลงโปรดของคุณ การบีบอัดเสียงเป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อลดขนาดไฟล์ ทำให้จัดเก็บเพลงได้ง่าย แต่การลดขนาดไฟล์ทำให้คุณภาพลดลง

เมื่อคุณสร้างไลบรารีเพลง คุณไม่ควรปล่อยให้ข้อจำกัดเกี่ยวกับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลมาขัดขวางคุณภาพเสียง และเราจะมาดูเคล็ดลับบางอย่างเพื่อให้แน่ใจถึงการรับฟังเพลงของคุณในแบบที่ควรจะเป็น

มีปัจจัยบางประการที่จะส่งผลต่อคุณภาพของไฟล์เสียง โดยจะเห็นได้ชัดว่า ยิ่งคุณภาพสูง เสียงก็จะยิ่งดีขึ้น แต่เสียงที่มีความเที่ยงตรงสูงอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องพื้นที่จัดเก็บข้อมูล เนื่องจากไฟล์เหล่านี้มักจะมีขนาดใหญ่

คุณภาพเสียงส่วนใหญ่วัดจากอัตราตัวอย่างและความลึกของบิตซึ่งเราจะสรุปไว้ด้านล่างนี้ คำศัพท์ที่สำคัญอีกคำหนึ่งในการพิจารณาคุณภาพเสียงคือเสียงแบบ "Lossless" หรือในทางตรงกันข้ามคือแบบ "Lossy" รูปแบบเสียงดิจิทัลแต่ละรูปแบบจะมีความสามารถที่แตกต่างกันในแง่ของอัตราการสุ่มตัวอย่าง ความลึกของบิต และการบีบอัด

อัตราการสุ่มตัวอย่างและความลึกของบิตคืออะไร

เมื่อเราพูดถึงคุณภาพของไฟล์เสียง เรามักจะพูดถึงอัตราการสุ่มตัวอย่างและความลึกของบิต

โดยหลักแล้ว เสียงมีลักษณะเป็นแอนะล็อก ถ้าไม่ได้เป็นการส่งเสียงที่ไพเราะ เสียงจะเป็นเพียงการสั่นสะเทือนหรือคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านอากาศ โดยต้องแปลงคลื่นที่สร้างเสียงเหล่านั้นเป็นดิจิทัลโดยใช้สิ่งที่เรียกว่าทรานสดิวเซอร์ เช่น ไมโครโฟน และเครื่องขยายเสียง เป็นต้น ซึ่งจะเปลี่ยนคลื่นเสียงเหล่านี้ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า

จากนั้น ระบบดิจิทัลจะสามารถบันทึกสัญญาณไฟฟ้าเหล่านั้นโดยการ "สุ่มตัวอย่าง" อัตราตัวอย่างของไฟล์เสียงจะคล้ายกับอัตราเฟรมของไฟล์วิดีโอ ลองพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่าวิดีโอคือคอลเลกชันภาพนิ่งหรือเฟรมต่างๆ ที่นำมารวมกัน อัตราเฟรมที่เร็วขึ้นทำให้วิดีโอเปลี่ยนจากเฟรมหนึ่งไปอีกเฟรมหนึ่งเร็วขึ้น ทำให้ได้วิดีโอที่มีความลื่นไหลยิ่งขึ้น เพลงก็เช่นเดียวกัน แทนที่จะเป็นคอลเลกชันของเฟรม แต่เป็นคอลเลกชันตัวอย่างสัญญาณเสียง

ดังนั้น ยิ่งอัตราการสุ่มตัวอย่างเร็วขึ้น เสียงก็จะยิ่งลื่นไหลมากขึ้น ไฟล์เสียงโดยทั่วไป เช่น เสียงในซีดี จะมีอัตราตัวอย่าง 44.1 กิโลเฮิร์ตซ์ หรือ 44,100 ตัวอย่างต่อวินาที ในขณะที่ไฟล์ "ความละเอียดสูง" โดยทั่วไปจะมีอัตราตัวอย่าง 96 กิโลเฮิร์ตซ์ หรือ 96,000 ตัวอย่างต่อวินาที หรือสูงกว่า

ความลึกของบิตคล้ายกับความละเอียดของวิดีโอ ในวิดีโอ จำนวนพิกเซลในเฟรมจะเป็นตัวกำหนดความละเอียด และในเพลง ความลึกของบิตจะแสดงถึงจำนวนบิตที่สร้างเสียง เมื่อมีการสุ่มตัวอย่างสัญญาณเสียง จะมีการดึงข้อมูลเสียงออกมาและจัดเก็บในรูปแบบของบิต อัตราบิตที่สูงขึ้นแสดงว่าสามารถจัดเก็บข้อมูลภายในแต่ละตัวอย่างได้มากขึ้น ดังนั้น ยิ่งอัตราบิตสูง ไฟล์เสียงดิจิทัลจะยิ่งจำลองต้นฉบับได้แม่นยำมากขึ้น

ทุกวันนี้เสียง 24 บิต 96 กิโลเฮิร์ตซ์ ถือเป็นเสียงที่มี "ความละเอียดสูง"

เสียงแบบ Lossless คืออะไร

ไฟล์เสียงจะถูกย่อขนาดลงโดยผ่านกระบวนการบีบอัดเสียงแบบ Lossless และในกระบวนการดังกล่าว ไฟล์จะสูญเสียข้อมูลเล็กน้อย ถ้าคุณบีบอัดไฟล์เสียงในรูปแบบ Lossy และขยายขนาดไฟล์ในภายหลัง คุณจะไม่สามารถบันทึกรายละเอียดที่หายไปเหล่านั้นได้อีก การบีบอัดแบบ Lossless ช่วยให้คุณบีบอัดไฟล์เสียงโดยไม่สูญเสียข้อมูลที่สำคัญนั้นไป

คุณสามารถฟังไฟล์เสียงแบบ Lossy และอาจยังคงได้ยินเสียงประสานและเสียงทุ้มทุกเสียง แต่คุณอาจพลาดรายละเอียดปลีกย่อยบางอย่างในการผลิตเพลง ถ้าคุณคิดว่าตัวเองเป็นคนที่พิถีพิถันในการฟังเพลง ก็มีแนวโน้มที่จะสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างไฟล์เสียงแบบ Lossless กับ Lossy ได้ค่อนข้างชัดเจน ถ้าคุณกำลังบันทึกเพลงของคุณเอง เสียงแบบ Lossless เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

ไฟล์ MP3 และไฟล์เสียงแบบ Lossy ที่มีการบีบอัดอื่นๆ จัดการได้ง่ายกว่าในแง่ของฮาร์ดแวร์ และแน่นอนว่าจัดเก็บได้ง่ายกว่า ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไฟล์ที่ใช้กันทั่วไปมากกว่า บริการสตรีม เช่น Spotify ก็ใช้เสียงแบบ Lossy ที่มีการบีบอัด แม้แต่สำหรับบัญชีพรีเมียม เนื่องจากเพลงนับล้านๆ เพลงแบบ Lossless ที่ไม่มีการบีบอัดจะใช้แบนด์วิดท์ของคุณมากเกินไป

รูปแบบไฟล์เสียง

เมื่อพูดถึงประเภทไฟล์เสียงดิจิทัล นอกเหนือจากคุณภาพเสียงแล้ว ปัจจัยสำคัญอื่นๆ ประกอบด้วย ขนาดไฟล์และการรองรับข้อมูลเมตา ข้อมูลเมตาหมายถึงข้อมูลที่จัดเก็บไว้ภายในไฟล์ ในบริบทของไฟล์เพลง ข้อมูลเมตาอาจประกอบด้วยหน้าปก ศิลปิน อัลบั้ม ชื่อเพลง และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแทร็ก เมื่อคุณนำเข้าไฟล์เสียงไปยังเครื่องเล่นเพลง เช่น แอป Music ของ Apple แอปจะสามารถอ่านข้อมูลเมตานี้และจัดหมวดหมู่และแท็กไฟล์พร้อมรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อย่างถูกต้อง

คุณคงเคยได้ยินเกี่ยวกับรูปแบบไฟล์ต่างๆ มากมายตามรายการด้านล่างนี้ รูปแบบเสียงเหล่านี้เป็นรูปแบบเสียงที่พบบ่อยที่สุด และแต่ละรูปแบบให้คุณภาพเสียง ขนาดไฟล์ การรองรับข้อมูลเมตา และการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันไป

รูปแบบเสียงแบบ Lossy

MP3

MP3 เป็นรูปแบบไฟล์เสียงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด MP3 เป็นไฟล์บีบอัดและเป็นรูปแบบที่ต้องการเนื่องจากเป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก MP3 เหมาะในแง่ของพื้นที่จัดเก็บข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเก็บเพลงไว้ในสมาร์ทโฟนของคุณซึ่งอาจมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด แต่คุณภาพเสียงไม่ดี การมีขนาดไฟล์เล็กเช่นนี้ทำให้เครื่องเล่น MP3 ประสบความสำเร็จโดยเป็นการปูทางไปสู่ iPods และสมาร์ทโฟนในเวลาต่อมา

AAC

ไฟล์ AAC เป็นไฟล์แบบ Lossy ที่มีการบีบอัด แต่ให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าไฟล์ MP3 AAC เป็นรูปแบบที่ใช้สำหรับการสตรีมเพลงบน YouTube และ Apple Music และใช้กับเพลงที่คุณดาวน์โหลดจาก iTunes AAC คือคำตอบของ Apple สำหรับ MP3

WAV

WAV เป็นรูปแบบที่โดยปกติแล้วจะใช้เข้ารหัสเสียงซีดี ไฟล์เหล่านี้เป็นไฟล์แบบ Lossless ที่ไม่มีการบีบอัดซึ่งให้เสียงที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมแต่ใช้พื้นที่มาก ไฟล์ WAV ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับชนิดของข้อมูลเมตาที่รองรับได้ และเมื่อคุณสร้างไลบรารีเพลงออนไลน์ ข้อมูลเมตาอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญ

Ogg Vorbis

OGG หรือ Ogg Vorbis เป็นรูปแบบการบีบอัดแบบ Lossy ที่เป็นโอเพนซอร์ส ซึ่งคล้ายกับ MP3 และ AAC แต่มีประโยชน์มากกว่าโดยไม่ต้องผูกติดกับใบอนุญาตและสิทธิบัตร เป็นรูปแบบไฟล์ที่ใช้สำหรับเพลงบน Spotify 

รูปแบบเสียงแบบ Lossless

WAV

WAV เป็นรูปแบบที่โดยปกติแล้วจะใช้เข้ารหัสเสียงซีดี ไฟล์เหล่านี้เป็นไฟล์แบบ Lossless ที่ไม่มีการบีบอัดซึ่งให้เสียงที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมแต่ใช้พื้นที่มาก ไฟล์ WAV ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับชนิดของข้อมูลเมตาที่รองรับได้ และเมื่อคุณสร้างไลบรารีเพลงออนไลน์ ข้อมูลเมตาอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญ

AIFF

AIFF เทียบเท่ากับ WAV ของ Apple เป็นรูปแบบเสียงความละเอียดสูงแบบ Lossless ที่ไม่มีการบีบอัด คุณจึงสามารถคาดหวังคุณภาพที่ยอดเยี่ยมได้โดยมีค่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูล AIFF มีการรองรับข้อมูลเมตาดีกว่า WAV

FLAC

ไฟล์ FLAC ต้องใช้พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของไฟล์ WAV ในขณะที่ยังคงให้เสียงแบบ Lossless ที่มีความละเอียดสูง เป็นรูปแบบที่ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับการดาวน์โหลดอัลบั้มคุณภาพสูง แต่สำหรับผู้ใช้ Apple ไฟล์ FLAC จะเข้าถึงได้ผ่านแอป Files เท่านั้น โดยที่แอป Music จะไม่รองรับ

MQA

MQA เป็นรูปแบบที่ช่วยให้ Tidal นำเสนองานมาสเตอร์ที่มีความละเอียดสูงโดยมีคุณภาพยอดเยี่ยม เป็นรูปแบบ Lossless แต่มีการบีบอัด จึงเหมาะสำหรับบริการสตรีม

ALAC

คำตอบของ Apple สำหรับ FLAC คือ ALAC เป็นรูปแบบการบีบอัดแบบ Lossless ที่สามารถจัดการกับเสียงความละเอียดสูงได้เช่นเดียวกับ FLAC โดยรองรับข้อมูลเมตาและใช้พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของไฟล์ WAV สิ่งที่ต่างไปจาก FLAC คือ เนื่องจากเป็นรูปแบบของ Apple เอง จึงเข้ากันได้กับ iTunes และอุปกรณ์ iOS

เกิดอะไรขึ้นในระหว่างการบีบอัดไฟล์เสียง

เมื่อคุณดาวน์โหลดเพลง คุณกำลังดาวน์โหลดสำเนาหรือการจำลองไฟล์เสียงต้นฉบับ ไฟล์แบบ Lossless ที่ไม่มีการบีบอัดเป็นการจำลองที่ใกล้เคียงที่สุดที่คุณจะได้รับ

ในการลดขนาดไฟล์ จะใช้อัลกอริทึมการบีบอัดเพื่อลบบางส่วนของเพลงที่ระบบเชื่อว่าหูของคนเราจะไม่ได้ยิน การทำให้เสียงความถี่ต่ำดังขึ้น ทำให้สังเกตเห็นได้ไม่ค่อยชัดเจนว่าขาดเสียงความถี่สูงไป กระบวนการนี้เรียกว่า "การซ่อนเสียง"

ในด้านการผลิต การบีบอัดเสียงอาจเป็นเทคนิคที่มีประโยชน์ ในบริบทนี้ กระบวนการบีบอัดจะทำงานโดยการลดช่วงไดนามิกในสัญญาณเสียง ช่วงไดนามิก หมายถึงช่วงของความดัง ความแตกต่างระหว่างระดับเสียงต่ำสุดกับสูงสุดที่ส่วนของเสียงสามารถผลิตได้

ถ้าโปรดิวเซอร์มีเสียงที่ดังมากในช่วงเริ่มต้น แต่แผ่วลงหลังจากนั้น พวกเขาอาจต้องการบีบอัดเสียงเพื่อลดความแตกต่างของระดับเสียงระหว่างสองส่วนดังกล่าว โดยทั่วไปแล้ว การบีบอัดเสียงจะลดความดังโดยรวมในตอนแรก แต่สามารถชดเชยได้ด้วยอัตราขยายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะทำให้เสียงดังกว่าเดิมมาก ทั้งปลั๊กอินการบีบอัดและแอนะล็อกช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมลักษณะของการบีบอัดเสียงที่เกิดขึ้นได้โดยการจัดการเวลา Attack เวลา Release และควบคุมได้โดยการเพิ่มและลดอัตราขยาย

การบีบอัดไฟล์เสียงมีประโยชน์สำหรับการมิกซ์และการควบคุม แต่เมื่อพูดถึงการบันทึกและจัดเก็บเพลงของคุณ การบีบอัดไฟล์เสียงอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี

รูปแบบเสียงแบบ Lossless ใดที่ดีที่สุด

สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่า "Lossless" กับ "ไม่มีการบีบอัด" เป็นคนละเรื่องกัน ยกตัวอย่างเช่น ไฟล์ FLAC โดยไฟล์เหล่านี้มีการบีบอัดให้มีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของไฟล์ WAV หรือ AIFF แต่ยังคงเป็นไฟล์แบบ Lossless สามารถให้ความละเอียดสูงถึง 32 บิต 96 กิโลเฮิร์ตซ์ ซึ่งไฟล์ FLAC ให้เสียงที่ดีกว่าคุณภาพซีดี (16 บิต 44.1 กิโลเฮิร์ตซ์)

ดังนั้น ถ้าคุณกำลังมองหาวิธีจัดเก็บเพลงของคุณโดยไม่สูญเสียคุณภาพ แต่คุณยังคงระมัดระวังเรื่องการใช้พื้นที่ FLAC คือคำตอบ ส่วน ALAC คือทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับ FLAC ถ้าคุณเป็นผู้ใช้ Mac หรือ iOS

อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณต้องการเสียงแบบ Lossless ที่ไม่มีการบีบอัดอย่างแท้จริง แสดงว่าคุณต้องการ WAV หรือ AIFF สำหรับผู้ใช้ Mac หรือ iOS หรือผู้ที่ต้องการการรองรับข้อมูลเมตาที่ดีกว่า การบีบอัดแบบ Lossless เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยม แต่ยังไม่ได้คุณภาพที่เทียบเท่ากับรูปแบบ Lossless ที่ไม่มีการบีบอัด

ในขณะที่คุณต้องการคุณภาพเสียงที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับเพลงโปรดของคุณ คุณยังคงต้องระมัดระวังในเรื่องของพื้นที่จัดเก็บข้อมูล คุณจะไม่พบรูปแบบเสียงที่ทั้งประหยัดพื้นที่และให้เสียงแบบ Lossless ที่ยอดเยี่ยม แล้วคุณจะทำอย่างไร

บริการพื้นที่จัดเก็บบนระบบคลาวด์สำหรับเพลงแบบ Lossless

ไม่ว่าคุณจะเป็นนักดนตรีหรือเป็นเพียงแค่ผู้ฟังที่มีแรงบันดาลใจ คุณต้องการแน่ใจว่าคุณสามารถจัดเก็บเพลงทั้งหมดของคุณได้อย่างปลอดภัยโดยไม่มีการลดทอนคุณภาพ ด้วยเหตุนี้ การเก็บบันทึกทุกอย่างไว้ในอุปกรณ์ของคุณจึงไม่เหมาะอย่างยิ่ง

เมื่อใช้บริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์ของ Dropbox คุณจะสามารถจัดเก็บไฟล์เสียงความละเอียดสูงทุกรูปแบบไว้บนระบบคลาวด์ได้ คุณจึงเข้าถึงไฟล์เสียงเหล่านั้นได้จากทุกอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ Dropbox จะไม่บีบอัดไฟล์ของคุณในขณะที่คุณอัปโหลดหรือแก้ไขปรับเปลี่ยนไฟล์ไม่ว่าด้วยวิธีใด คุณจึงมั่นใจได้ว่าถ้าคุณกำลังอัปโหลดไฟล์ WAV คุณจะสามารถคาดหวังได้ว่าคุณภาพเสียงในระดับสูงของไฟล์นั้นจะยังคงเดิม

เนื่องจากทุกอย่างได้รับการจัดเก็บไว้บนระบบคลาวด์ คุณจึงไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับพื้นที่ดิสก์ ทำให้คุณมีอิสระที่จะเพลิดเพลินไปกับไลบรารีเพลงทั้งหมดที่ใช้เสียงแบบ Lossless ที่ไม่มีการบีบอัดในแบบที่ควรจะได้รับฟัง คุณสามารถฟังเพลงของคุณจาก Dropbox ซึ่งทำหน้าที่เป็นบริการสตรีมส่วนตัวของคุณเองได้

นอกจากนี้ ยังทำให้การแบ่งปันเพลงเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าคุณจะแบ่งปันเพลงโปรดเพลงใหม่กับเพื่อนและครอบครัว หรือทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมวง เมื่อใช้ Dropbox คุณจะสามารถแบ่งปันไฟล์เสียงคุณภาพสูงที่มีขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วเพียงแค่คลิกปุ่ม และส่งทุกอย่างได้ในทันทีเพราะทุกอย่างอยู่บนระบบคลาวด์

เพลิดเพลินไปกับเพลงของคุณโดยที่คุณภาพไม่ลดลง

เปรียบเทียบแผนบริการ