การเข้ารหัสคืออะไร
การเข้ารหัสเป็นกระบวนการทางเทคนิคที่มีการแปลงข้อมูลเป็นรหัสลับ โดยปิดข้อมูลที่คุณกำลังส่ง รับ หรือจัดเก็บ โดยหลักแล้ว จะมีการใช้อัลกอริทึมในการแปลงข้อมูลก่อนที่ฝ่ายรับจะแยกแยะข้อมูลโดยใช้คีย์การถอดรหัส ข้อความที่ไม่ได้แยกแยะข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ที่ไม่ได้เข้ารหัสจะเรียกว่า "ข้อความธรรมดา" ในขณะที่เรียกข้อความในรูปแบบที่เข้ารหัสว่า "ข้อความไซเฟอร์"
ลองนึกดูว่ามีข้อมูลสำคัญเก็บไว้ในไฟล์ โฟลเดอร์ และอุปกรณ์ของบริษัทมากเพียงใด และลองคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าข้อมูลนั้นตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดี ตั้งแต่ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับพนักงานของคุณ (เช่น ที่อยู่ หมายเลขประกันสังคม รหัสภาษี ฯลฯ) ไปจนถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเงินและบัญชีธนาคารของบริษัท คุณน่าจะมีข้อมูลจำนวนมากที่ต้องจำกัดการเข้าถึงเฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาต การเข้ารหัสเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องข้อมูลที่เป็นความลับของธุรกิจจากภัยคุกคามการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
การเข้ารหัสมีมาตั้งแต่เริ่มต้นประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ โดยมีการเข้ารหัสในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ชาวกรีกโบราณเข้ารหัสข้อความโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "Scytale" ในขณะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเยอรมนีใช้เครื่อง Enigma ซึ่งเป็นที่รู้จักดีเพื่อปกป้องการส่งสัญญาณทางทหารและการทูต เทคนิคการเข้ารหัสสมัยใหม่ได้ผ่านการทำซ้ำหลายครั้ง แต่ส่วนใหญ่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ อัลกอริทึมแบบคีย์สมมาตรและอัลกอริทึมแบบคีย์อสมมาตร เราจะมาดูรูปแบบการเข้ารหัสเหล่านี้โดยละเอียดในภายหลัง
นอกจากนี้ ยังควรสังเกตว่าการเข้ารหัสมีบทบาทสำคัญในการรับประกันความปลอดภัยในการท่องอินเทอร์เน็ตของคุณ เว็บไซต์จำนวนมากใช้ Secure Sockets Layer (SSL) ซึ่งเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งเข้าและออกจากเว็บไซต์ โดยป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลในระหว่างการส่ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Transport Layer Security (TLS) ได้เข้ามาแทนที่ SSL เป็นโปรโตคอลการเข้ารหัสมาตรฐานสำหรับการตรวจสอบเซิร์ฟเวอร์ต้นทางของเว็บไซต์และรักษาความปลอดภัยคำขอและการตอบกลับ HTTP
ในทางทฤษฎีแล้ว จะสามารถถอดรหัสไฟล์ที่เข้ารหัสได้โดยไม่ต้องใช้คีย์การเข้ารหัส แต่จะต้องใช้พลังมหาศาลในการคำนวณเพื่อถอดรูปแบบการเข้ารหัสที่ออกแบบมาอย่างดี นี่คือความหมายของวลี "การโจมตีแบบพยายามทุกวิถีทาง" แม้ว่าวิธีการเข้ารหัสสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับรหัสผ่านที่คาดเดายาก จะทนทานต่อการโจมตีแบบพยายามทุกวิถีทาง (แฮกเกอร์จะต้องใช้เวลาหลายพันล้านปีในการถอดรหัสไฟล์ที่เข้ารหัสอย่างถูกต้อง) แต่อาจกลายเป็นปัญหามากขึ้นในอนาคตเนื่องจากคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การเข้ารหัสทำงานอย่างไร
ในระดับพื้นฐานที่สุด การเข้ารหัสเป็นวิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อใช้การเข้ารหัส คุณจะสามารถเข้ารหัสข้อความที่เรียบง่ายและชัดเจน (“Dropbox is awesome!”) ลงในข้อความที่มีการแปลงข้อมูลซึ่งจะเข้าใจยากสำหรับใครก็ตามที่บังเอิญเข้ามาดูในรูปแบบที่เข้ารหัสนั้น (“9itQg7nbV781+f55eXC1Lk”) โดยจะมีการส่งข้อความที่เข้ารหัสผ่านอินเทอร์เน็ต และเมื่อไปถึงปลายทาง ผู้รับจะมีวิธีการบางอย่างในการแปลงข้อความที่มีการแปลงข้อมูลไว้กลับไปเป็นรูปแบบเดิม (“Dropbox is awesome!”) ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้คีย์การเข้ารหัส
เราได้กล่าวถึงการเข้ารหัสแบบอสมมาตรและการเข้ารหัสแบบสมมาตรไว้ข้างต้น โดยทั่วไปแล้ว การเข้ารหัสดังกล่าวเป็นการเข้ารหัส 2 ประเภทหลักที่คุณจะพบ แต่ทั้ง 2 ประเภทนี้ทำงานอย่างไร ต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลเพิ่มเติมเล็กน้อยเกี่ยวกับระบบการเข้ารหัสข้อมูลเหล่านี้
- อัลกอริทึมแบบคีย์สมมาตร: ในระบบคีย์สมมาตร จะมีการใช้คีย์การเข้ารหัสที่เกี่ยวข้องหรือเหมือนกันสำหรับทั้งกระบวนการเข้ารหัสและถอดรหัส ในบางแวดวง คีย์ที่แบ่งปันจะเรียกว่า "ความลับที่แบ่งปัน" เนื่องจากผู้ส่ง/ระบบที่ดูแลการเข้ารหัสจะต้องแชร์คีย์กับทุกคนที่ได้รับอนุญาตให้ถอดรหัสข้อความ ทั้งนี้ มีอัลกอริทึมแบบคีย์สมมาตรที่แตกต่างกันหลายตัวอย่าง เช่น AES, Triple DES และ Blowfish
- อัลกอริทึมแบบคีย์อสมมาตร: ในระบบคีย์อสมมาตร หรือที่เรียกว่าการเข้ารหัสคีย์สาธารณะ จะใช้คีย์ที่แตกต่างกันสำหรับกระบวนการเข้ารหัสและถอดรหัส โดยจะมีการแบ่งปันคีย์หนึ่งเป็นแบบสาธารณะและทุกคนสามารถใช้ได้ (จึงตั้งชื่อว่า "การเข้ารหัสคีย์สาธารณะ") ในขณะที่อีกคีย์หนึ่งจะเป็นแบบส่วนตัว ซึ่งทำให้ระบบคีย์อสมมาตรมีความปลอดภัยมากกว่าอัลกอริทึมแบบคีย์สมมาตร เนื่องจากแฮกเกอร์หรืออาชญากรไซเบอร์ไม่สามารถคัดลอกคีย์ได้ในขณะที่ส่ง ตัวอย่างของการเข้ารหัสแบบอสมมาตร ได้แก่ RSA และ DES
นั่นคือคำอธิบายเบื้องต้นของกระบวนการเข้ารหัส แต่การเข้ารหัสสำหรับธุรกิจทำงานอย่างไร ในแง่ขององค์กร สิ่งสำคัญคือการทราบว่าอุปกรณ์จำนวนมากมีการเข้ารหัสเป็นมาตรฐาน Windows นำเสนอคุณสมบัติการเข้ารหัสบริการเต็มรูปแบบในตัวที่เรียกว่า BitLocker ซึ่งใช้อัลกอริทึมการเข้ารหัส AES ในขณะที่ macOS และ Linux มีตัวเลือกการเข้ารหัสในตัวด้วยเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพูดถึงการเข้ารหัสอีเมลของคุณ จะมีเครื่องมือการเข้ารหัสที่ใช้ร่วมกันมากมายสำหรับแอปพลิเคชันอีเมลหลักๆ เช่น Microsoft Outlook และ Apple Mail
เพราะเหตุใดการเข้ารหัสจึงสำคัญ
ทุกวันนี้การเข้ารหัสเป็นการดำเนินการขั้นต่ำสำหรับองค์กร เพราะเหตุใด ประการแรก เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัย ตามรายงาน QuickView ฉบับปลายปี 2019 เกี่ยวกับการละเมิดข้อมูล ของ Risk Based Security พบว่ามีการเปิดเผยข้อมูลมากกว่า 15.1 พันล้านรายการตลอดปี 2019 ซึ่งเพิ่มขึ้น 284% จากตัวเลขในปี 2018 บริษัทวิจัยระบุว่าปี 2019 เป็น “ปีที่แย่ที่สุดในประวัติการณ์” และเราได้เห็นการละเมิดข้อมูลครั้งใหญ่ในปี 2020 โดยมีการเปิดเผยข้อมูล 8.4 พันล้านรายการในไตรมาสแรกของปี 2020 เท่านั้น (เพิ่มขึ้น 273% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2019) การเข้ารหัสสามารถช่วยให้ข้อมูลธุรกิจของคุณปลอดภัยจากแฮกเกอร์และอาชญากรไซเบอร์ สมมติว่ามีการเข้ารหัสอย่างถูกต้อง ข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์ของบริษัทควรปลอดภัย แม้ว่าอุปกรณ์จะสูญหายหรือถูกขโมยก็ตาม นอกจากนี้ การสื่อสารที่เข้ารหัสควรรับประกันว่าคุณสามารถสื่อสารภายนอกและภายในองค์กรโดยไม่ให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนรั่วไหล พูดง่ายๆ ก็คือ เพียงการจัดการกับไฟล์ที่เข้ารหัสเท่านั้นก็สามารถหยุดข้อมูลของคุณไม่ให้ตกไปอยู่ในมือคนผิดได้
จากนั้นยังมีเรื่องของกฎระเบียบ โดยที่กฎระเบียบทางอุตสาหกรรมหลายแห่งกำหนดว่า บริษัทที่จัดการข้อมูลผู้ใช้ต้องเก็บข้อมูลนั้นไว้ในแบบเข้ารหัส PCI DSS (มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในอุตสาหกรรมบัตรชำระเงิน) ซึ่งเป็นชุดแนวทางปฏิบัติทั่วไปที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทบัตรเครดิตรายใหญ่ของโลก เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ หนึ่งในข้อกำหนดหลักของ PCI DSS จำนวน 12 ข้อ ระบุว่าธุรกิจที่จัดการข้อมูลบัตรของลูกค้าโดยตรงควร "เข้ารหัสการส่งข้อมูลผู้ถือบัตรผ่านเครือข่ายสาธารณะแบบเปิด" การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวอาจทำให้ได้รับบทลงโทษที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงค่าปรับที่เป็นตัวเงิน ความรับผิดในข้อหาฉ้อโกง และการระงับความสามารถในการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต นอกจากนี้ ยังมีกฎระเบียบของรัฐบาลอีกมากมายที่กำหนดให้มีการเข้ารหัส ยกตัวอย่างเช่น ในสหภาพยุโรป (EU) GDPR กำหนดให้ธุรกิจใช้มาตรการทางเทคนิคและองค์กรเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลได้รับการประมวลผลอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ ได้มีการระบุว่าการเข้ารหัสเป็นมาตรการทางเทคนิคที่เหมาะสม
แต่การเข้ารหัสที่แท้จริงหมายถึงอะไร การละเมิดข้อมูลอาจทำให้เกิดผลเสียหายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเงิน ธุรกิจของคุณอาจมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก รวมถึงการฉ้อโกง เงินที่ถูกขโมย ความเสียหายหรือการทำลายข้อมูล การหยุดชะงักของบริการหลังการโจมตี การยักยอกเงิน และการฟื้นฟู/การลบระบบที่เสียหาย คุณอาจต้องการพิจารณาถึงความเสียหายต่อชื่อเสียงที่มีต่อธุรกิจอันเนื่องมาจากการละเมิดข้อมูลครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละเมิดที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของลูกค้า และประเภทของผลกระทบที่น่าจะมีต่อผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าของบริษัทในอนาคตข้างหน้า โดยสรุป การเข้ารหัสสามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณปลอดภัยจากค่าใช้จ่ายและกระบวนการที่ใช้เวลามากในการกู้คืนจากการละเมิดข้อมูล เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทของคุณยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้สำหรับผู้บริโภค
วิธีเข้ารหัสไฟล์ด้วย Dropbox
เมื่อคุณเริ่มต้นกระบวนการรักษาความปลอดภัยเป็นครั้งแรก การเรียนรู้วิธีเข้ารหัสไฟล์อาจดูเหมือนเป็นภูเขาสูงชันที่ต้องปีนขึ้นไป โชคดีที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้น ตามที่เราได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ซอฟต์แวร์เข้ารหัสมักจะถูกรวมไว้ในระบบปฏิบัติการของคุณ แม้ว่าจะมีรูปแบบและโปรแกรมการเข้ารหัสของบุคคลที่สามมากมายที่สามารถให้การป้องกันที่เพิ่มขึ้นแก่คุณได้ แต่ไม่ว่ากรณีใดๆ คุณอาจสงสัยว่าสามารถเข้ารหัสไฟล์ที่ละเอียดอ่อนของธุรกิจไฟล์ใดได้บ้าง คำตอบง่ายๆ ก็คือ แทบทุกไฟล์ รวมถึงไฟล์ข้อความ ไฟล์ข้อมูล อีเมล พาร์ติชันของดิสก์ และไดเร็กทอรี สามารถเข้ารหัสได้ ดังนั้นไม่ว่าข้อมูลที่มีความเสี่ยงมากที่สุดของคุณจะได้รับการจัดเก็บไว้ที่ใด การเรียนรู้วิธีเข้ารหัสไฟล์ก็เป็นเรื่องที่มีประโยชน์
แพลตฟอร์มที่ปลอดภัยของ Dropbox นำเสนอมาตรฐานการเข้ารหัสที่ทันสมัยซึ่งสามารถช่วยให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของธุรกิจของคุณปลอดภัยจากการโจมตีแบบพยายามทุกวิถีทาง มัลแวร์ แรนซัมแวร์ และการละเมิดข้อมูล ดังนั้น การเข้ารหัสทำงานอย่างไรใน Dropbox โดยหลักแล้ว เราประมวลผลไฟล์ของคุณโดยแบ่งออกเป็นบล็อกที่ไม่ต่อเนื่อง แต่ละบล็อกจะถูกเข้ารหัสด้วยการเข้ารหัสที่รัดกุมและมีการซิงโครไนซ์เฉพาะบล็อกที่มีการปรับเปลี่ยนในระหว่างการแก้ไขเท่านั้น นอกจากนี้ ไฟล์ของคุณยังได้รับการปกป้องในขณะที่กำลังมีการส่งระหว่างแอปกับเซิร์ฟเวอร์ของเรา รวมถึงขณะที่มีการพักข้อมูลอยู่ Dropbox ยังนำเสนอการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ที่เข้ารหัสระดับองค์กร ซึ่งนอกเหนือไปจากการเข้ารหัสแบบเดิม ซึ่งให้การปกป้องไฟล์และข้อมูลของคุณในระดับที่ดียิ่งขึ้น
สรุป
ดังนั้นการเข้ารหัสคืออะไร พูดง่ายๆ ก็คือ การเข้ารหัสเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดวิธีหนึ่งในการปกป้องไฟล์และข้อมูลของคุณในโลกที่มีความเสี่ยงมากขึ้น