การหาวิธีจัดเก็บภาพถ่ายอันมีค่าและไฟล์ที่สำคัญอาจเป็นเรื่องที่น่าหนักใจ แต่ควรจดจำเอาไว้ว่าความจุของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลไม่ได้ขึ้นอยู่กับความจุของคอมพิวเตอร์คุณอีกต่อไปแล้ว คุณมีตัวเลือกมากมายและหลากหลายราคาในการเก็บไฟล์ไปพร้อมกับการประหยัดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือแท็บเล็ต ซึ่งในที่นี้เราจะแจกแจงตัวเลือกของคุณ ตั้งแต่พื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ไปจนถึงฮาร์ดไดรฟ์
บริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์
แม้ว่าจะไม่ใช่อุปกรณ์ในตัว แต่บริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์ก็เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลใหม่ล่าสุดและอเนกประสงค์ที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์ “ระบบคลาวด์” ไม่ใช่สถานที่หรือสิ่งของ แต่เป็นกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ศูนย์ข้อมูลทั่วโลก เมื่อคุณบันทึกเอกสารลงในระบบคลาวด์ คุณจะจัดเก็บเอกสารไว้บนเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้
เนื่องจากบริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์จัดเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ทางออนไลน์ บริการนี้จึงจะไม่ใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรองในคอมพิวเตอร์ ซึ่งช่วยให้คุณประหยัดพื้นที่ได้
บริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูงกว่าแฟลชไดรฟ์ USB และตัวเลือกอื่นๆ อย่างมาก จึงช่วยให้คุณไม่ต้องไล่ดูข้อมูลในอุปกรณ์ทีละชิ้นเพื่อหาไฟล์ที่ต้องการ
ในขณะที่ HDD และ SSD ภายนอกเคยเป็นที่นิยมเนื่องจากสามารถพกพาได้ แต่ก็ยังขาดประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับบริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์ ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกที่ราคาสบายกระเป๋าเองก็มีไม่มากนัก และแม้ว่าจะมีขนาดเล็กและเบากว่าไดรฟ์จัดเก็บข้อมูลภายในของคอมพิวเตอร์ แต่ก็ยังคงเป็นอุปกรณ์ที่คุณต้องดูแลอยู่ดี แต่ในทางกลับกัน ระบบคลาวด์ไปกับคุณได้ทุกที่โดยไม่ต้องเบียดพื้นที่ในกระเป๋าและไม่มีความเสี่ยงแบบไดรฟ์ภายนอก
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอกยังเป็นที่นิยมเพราะเป็นโซลูชันที่รวดเร็วสำหรับการโอนย้ายไฟล์ แต่จะมีประโยชน์เฉพาะเมื่อคุณมีอุปกรณ์อยู่กับตัวเท่านั้น การประมวลผลแบบคลาวด์กำลังได้รับความสนใจในช่วงเวลาที่ธุรกิจจำนวนมากในตอนนี้มีการดำเนินการจากระยะไกล คุณคงไม่ส่งไปรษณีย์ไดรฟ์ USB ไปต่างประเทศเพียงเพื่อจะส่งไฟล์ขนาดใหญ่ไปให้เพื่อนร่วมงาน บริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์จึงทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างคนทำงานจากระยะไกล โดยทำให้การทำงานร่วมกันจากระยะไกลเป็นเรื่องง่าย
ถ้าคุณลืมนำฮาร์ดไดรฟ์ที่มีเอกสารสำคัญไปเข้าร่วมการประชุม คุณจะทำอะไรได้ไม่มากนอกจากกลับไปหยิบมา ถ้าคุณทำฮาร์ดไดรฟ์พังหรือทำหาย ก็ไม่น่าเป็นไปได้ที่คุณจะได้ข้อมูลนั้นกลับคืนมา พื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์ไม่มีความเสี่ยงเหล่านี้ ระบบจะสำรองข้อมูลของคุณไว้และคุณสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาตราบใดที่คุณเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
เมื่อใช้การซิงค์ไฟล์ คุณจะเข้าถึงไฟล์ทั้งหมดใน Dropbox ได้จากเดสก์ท็อป ก็เหมือนกับการจัดเก็บไฟล์ไว้ในเครื่อง แต่จะไม่กินพื้นที่ดิสก์ของคุณแม้แต่น้อย การเก็บไฟล์ทั้งหมดของคุณไว้ใน Dropbox ทำให้สามารถใช้งานไฟล์ได้เสมอในคลิกเดียว คุณจะเข้าถึงไฟล์ได้จากอุปกรณ์ใดก็ได้ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และแบ่งปันไฟล์ดังกล่าวได้ในทันที
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก
นอกจากสื่อจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์แล้ว ยังมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดิจิทัลที่อยู่ภายนอกคอมพิวเตอร์อีกด้วย อุปกรณ์เหล่านี้มักใช้เพื่อขยายความจุในการจัดเก็บเมื่อคอมพิวเตอร์มีพื้นที่เหลือน้อย เพื่อให้สามารถพกพาได้สะดวกขึ้น และเพื่อให้สามารถโอนย้ายไฟล์จากอุปกรณ์หนึ่งไปอีกอุปกรณ์หนึ่งได้ง่าย
นอกจากนี้ ถ้าคุณต้องการโอนย้ายไฟล์จากไดรฟ์ภายนอกไปยังคลาวด์ คุณก็สามารถใช้การสำรองข้อมูลไดรฟ์ภายนอกและเข้าถึงไฟล์ของคุณได้จากทุกหนแห่ง
HDD และ SSD ภายนอก
คุณสามารถใช้ทั้งอุปกรณ์ HDD และ SSD เป็นไดรฟ์ภายนอกได้ โดยทั่วไปแล้ว ไดรฟ์เหล่านี้มีความจุสูงสุดในบรรดาตัวเลือกไดรฟ์ภายนอก โดย HDD ภายนอกมีพื้นที่จัดเก็บสูงถึง 20 TB และ SSD ภายนอก (ราคาเหมาะสม) มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสูงถึง 8 TB
HDD และ SSD ภายนอกทำงานเหมือนกับไดรฟ์ภายใน ไดรฟ์ภายนอกส่วนใหญ่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ไม่ได้ผูกกับอุปกรณ์เครื่องเดียว จึงเป็นโซลูชันที่ดีสำหรับการโอนย้ายไฟล์ข้ามอุปกรณ์
อุปกรณ์หน่วยความจำแฟลช
เราได้กล่าวถึงหน่วยความจำแฟลชก่อนหน้านี้แล้วเมื่อพูดถึง SSD อุปกรณ์หน่วยความจำแฟลชประกอบด้วยเซลล์หน่วยความจำแฟลชที่เชื่อมต่อกันหลายล้านล้านเซลล์ซึ่งจัดเก็บข้อมูลไว้ เซลล์เหล่านี้มีทรานซิสเตอร์หลายล้านตัวซึ่งเมื่อเปิดหรือปิดจะแสดงค่า 1 และ 0 เป็นรหัสไบนารี ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้
อุปกรณ์หน่วยความจำแฟลชประเภทที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือแฟลชไดรฟ์ USB หรือที่เรียกกันว่าไดรฟ์พกพาหรือแท่งหน่วยความจำ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาขนาดเล็กเหล่านี้เป็นตัวเลือกยอดนิยมเพิ่มเติมสำหรับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์มาเป็นเวลานาน ก่อนที่จะมีการแบ่งปันไฟล์ได้ง่ายและรวดเร็วทางออนไลน์ แฟลชไดรฟ์ USB เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการย้ายไฟล์จากอุปกรณ์หนึ่งไปอีกอุปกรณ์หนึ่งได้อย่างง่ายดาย แต่จะใช้ได้เฉพาะกับอุปกรณ์ที่มีพอร์ต USB เท่านั้น ซึ่งคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าส่วนใหญ่มีพอร์ต USB แต่รุ่นใหม่ๆ อาจต้องใช้อะแดปเตอร์
ในปัจจุบัน แฟลชไดรฟ์ USB มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ถึง 2 TB แม้จะมีราคาต่อกิกะไบต์แพงกว่าฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะเป็นโซลูชันที่ง่ายและสะดวกสำหรับการจัดเก็บและถ่ายโอนไฟล์ขนาดเล็ก
นอกเหนือจากไดรฟ์ USB แล้ว อุปกรณ์หน่วยความจำแฟลชยังมี SD การ์ดและการ์ดหน่วยความจำ ซึ่งรู้จักกันว่าเป็นสื่อจัดเก็บข้อมูลที่ใช้ในกล้องดิจิทัล
สื่อจัดเก็บข้อมูลด้วยแสง
แผ่น CD, DVD และ Blu-Ray ใช้สำหรับทำอย่างอื่นได้มากกว่าการเล่นเพลงและวิดีโอ เนื่องจากยังใช้เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลด้วยเช่นกัน และเรียกรวมกันว่าอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลด้วยแสงหรือสื่อเก็บข้อมูลด้วยแสง
รหัสไบนารีจะได้รับการจัดเก็บไว้ในดิสก์เหล่านี้ในรูปแบบของส่วนนูนขนาดเล็กไปตามแทร็กที่หมุนวนออกจากจุดศูนย์กลางของดิสก์ เมื่อดิสก์ทำงาน ดิสก์จะหมุนด้วยความเร็วคงที่ ในขณะที่เลเซอร์ที่อยู่ภายในดิสก์ไดรฟ์จะสแกนส่วนนูนบนดิสก์ วิธีที่เลเซอร์สะท้อนหรือเด้งออกจากส่วนนูนเป็นตัวกำหนดว่าแสดงถึง 0 หรือ 1 ในไบนารี
ดีวีดีมีแทร็กเกลียวที่แน่นกว่าซีดี ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้นแม้ว่าจะมีขนาดเท่ากันก็ตาม และในไดรฟ์ดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงที่ละเอียดกว่าในไดรฟ์ซีดี ดีวีดียังช่วยให้มีการแบ่งชั้นคู่เพื่อเพิ่มความจุมากขึ้น บลูเรย์พัฒนาขึ้นอีกระดับ โดยจัดเก็บข้อมูลไว้ในหลายชั้นโดยมีส่วนนูนขนาดเล็กกว่าที่ต้องใช้เลเซอร์สีน้ำเงินที่ละเอียดกว่าในการอ่าน
- CD-ROM, DVD-ROM และ BD-ROM หมายถึงดิสก์จัดเก็บข้อมูลด้วยแสงแบบอ่านอย่างเดียว ข้อมูลที่เขียนบนดิสก์เป็นข้อมูลถาวรและไม่สามารถลบออกหรือเขียนทับได้ จึงไม่สามารถนำมาใช้เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลส่วนตัว แต่โดยทั่วไปจะใช้เก็บโปรแกรมติดตั้งซอฟต์แวร์
- ดิสก์รูปแบบ CD-R, DVD-R และ BD-R สามารถบันทึกได้ แต่ไม่สามารถเขียนทับได้ ข้อมูลใดก็ตามที่คุณบันทึกลงในดิสก์เปล่าที่บันทึกได้จะถูกจัดเก็บอย่างถาวรในดิสก์นั้น จึงสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ แต่ไม่ค่อยยืดหยุ่นเท่าอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอื่นๆ
- CD-RW, DVD-RW และ BD-RE สามารถเขียนซ้ำได้ คุณจึงสามารถเขียนข้อมูลใหม่และลบข้อมูลที่ไม่ต้องการออกไปได้ตามที่คุณต้องการ ในขณะที่เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น หน่วยความจำแฟลชเข้ามาแทนที่ดิสก์เหล่านี้ แต่ CD-RW ก็เคยเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลภายนอก คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและแล็ปท็อปส่วนใหญ่จะมีไดรฟ์ CD หรือ DVD
CD จัดเก็บข้อมูลได้สูงสุด 700 MB ในขณะที่ DVD-DL จัดเก็บข้อมูลได้ถึง 8.5 GB และ Blu-Ray จัดเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 25 ถึง 128 GB
ฟลอปปีดิสก์
แม้ว่าฟลอปปีดิสก์จะล้าสมัยไปแล้ว แต่เราไม่สามารถพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยไม่กล่าวถึงฟลอปปีดิสก์เจ้าเก่าหรือที่เรียกกันว่าดิสก์เก็ตได้เลย ฟลอปปีดิสก์เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาและถอดได้แบบแรกที่ใช้กันทั่วไป สาเหตุที่ไอคอน "บันทึก" ส่วนใหญ่เป็นรูปที่ใช้กันอยู่ก็เพราะจำลองมาจากฟลอปปีดิสก์ ดิสก์ประเภทนี้ทำงานในลักษณะเดียวกับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก
พื้นที่จัดเก็บข้อมูลของฟลอปปีดิสก์มีความจุไม่เกิน 200 MB ก่อนที่ CD-RW และแฟลชไดรฟ์จะกลายเป็นสื่อจัดเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยม iMac เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกที่เปิดตัวโดยไม่มีฟลอปปีดิสก์ไดรฟ์ในปี 1998 และหลังจากนั้นการใช้ฟลอปปีดิสก์มายาวนานกว่า 30 ปีก็ลดลงอย่างรวดเร็ว
พื้นที่จัดเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลคือฮาร์ดแวร์ชิ้นหนึ่งที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป แล็ปท็อป แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนทุกเครื่อง จะมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบางประเภทอยู่ภายใน และคุณยังสามารถมีไดรฟ์จัดเก็บข้อมูลภายนอกแบบแยกต่างหากสำหรับใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้อีกด้วย
พื้นที่จัดเก็บข้อมูลไม่เพียงจำเป็นสำหรับการบันทึกไฟล์เท่านั้น แต่ยังจำเป็นสำหรับการเรียกใช้งานและแอปพลิเคชันด้วย ไฟล์ทั้งหมดที่คุณสร้างหรือบันทึกบนคอมพิวเตอร์ของคุณจะถูกบันทึกลงในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลนี้ยังจะจัดเก็บแอปพลิเคชันและระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์อีกด้วย
เนื่องจากเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าเมื่อเวลาผ่านไป อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลก็ได้พัฒนาไปอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ทุกวันนี้ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมีหลายรูปทรงและขนาด และมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลไม่กี่ประเภทที่รองรับอุปกรณ์และฟังก์ชันต่างๆ
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเรียกอีกอย่างว่าสื่อจัดเก็บข้อมูล พื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิทัลมีหน่วยวัดเป็นเมกะไบต์ (MB) กิกะไบต์ (GB) และทุกวันนี้ก็มีเป็นเทราไบต์ (TB) แล้ว
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์บางอุปกรณ์สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร ในขณะที่อุปกรณ์อื่นสามารถเก็บข้อมูลได้เพียงชั่วคราว คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีทั้งพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลักและพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรอง โดยพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลักทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำระยะสั้นของคอมพิวเตอร์ และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรองเป็นหน่วยความจำระยะยาวของคอมพิวเตอร์
พื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลัก: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (Random Access Memory: RAM)
Random Access Memory หรือ RAM เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์
เมื่อคุณทำงานกับไฟล์บนคอมพิวเตอร์ของคุณ ไฟล์จะจัดเก็บข้อมูลไว้ใน RAM ของคุณชั่วคราว RAM ช่วยให้คุณสามารถทำงานประจำวัน เช่น การเปิดแอปพลิเคชัน การโหลดหน้าเว็บ การแก้ไขเอกสาร หรือการเล่นเกม และช่วยให้คุณสามารถสลับจากงานหนึ่งไปยังอีกงานหนึ่งได้อย่างรวดเร็วโดยไม่สูญเสียความคืบหน้า โดยหลักแล้ว ยิ่ง RAM ของคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่ การทำงานหลายอย่างพร้อมกันของคุณก็ยิ่งราบรื่นขึ้นและรวดเร็วขึ้น
RAM เป็นหน่วยความจำชั่วคราวซึ่งหมายความว่าจะไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อปิดระบบ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณคัดลอกกลุ่มข้อความ รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ จากนั้นลองวางข้อความกลุ่มนั้นลงในเอกสาร คุณจะพบว่าคอมพิวเตอร์ของคุณลืมข้อความที่คัดลอกไว้ไปแล้ว นั่นเป็นเพราะข้อความนั้นได้รับการจัดเก็บไว้ชั่วคราวใน RAM ของคุณ
RAM ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าถึงข้อมูลได้แบบสุ่ม จึงอ่านและเขียนได้เร็วกว่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรองของคอมพิวเตอร์มาก
พื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรอง: ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) และโซลิดสเทตไดรฟ์ (SSD)
นอกจาก RAM แล้ว คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องยังมีไดรฟ์เก็บข้อมูลอื่นที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลในระยะยาว เรียกว่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรอง ไฟล์ทั้งหมดที่คุณสร้างหรือดาวน์โหลดจะบันทึกไว้ในพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรองของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ใช้เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรองในคอมพิวเตอร์มีสองประเภท ได้แก่ HDD และ SSD แม้ HDD จะเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบดั้งเดิมจากทั้งสองประเภท แต่ SSD กลับกลายเป็นเทคโนโลยีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรองที่เป็นที่ต้องการมากกว่าอย่างรวดเร็ว
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสำรองมักจะเป็นแบบถอดได้ คุณจึงสามารถเปลี่ยนหรืออัพเกรดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือย้ายไดรฟ์เก็บข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ แต่ก็มีข้อยกเว้นที่ควรทราบ เช่น MacBook ซึ่งไม่มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบถอดได้
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD)
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) คือฮาร์ดไดรฟ์แบบดั้งเดิม อุปกรณ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบแม่เหล็กที่มีมาตั้งแต่ปี 1950 ที่มีการพัฒนาเพิ่มเติมตามกาลเวลา
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ประกอบด้วยชั้นดิสก์โลหะที่หมุนได้ซึ่งเรียกว่า แพลตเตอร์ ดิสก์ที่หมุนแต่ละแผ่นมีส่วนย่อยเล็กๆ เป็นล้านล้านชิ้นที่สามารถดูดเพื่อแทนบิตได้ (เลข 1 และ 0 ในรหัสไบนารี แขนแอคชูเอเตอร์ที่มีหัวอ่าน/เขียนจะสแกนแพลตเตอร์หมุน และดูดส่วนย่อยเพื่อเขียนข้อมูลดิจิทัลลงใน HDD หรือตรวจจับประจุแม่เหล็กเพื่ออ่านข้อมูลจาก HDD
HDD ใช้สำหรับเครื่องบันทึกทีวี เซิร์ฟเวอร์ และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของแล็ปท็อปและคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
โซลิดสเทตไดรฟ์ (SSD)
โซลิดสเทตไดรฟ์เพิ่งพัฒนาขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ในช่วงทศวรรษที่ 90 SSD ไม่ได้ใช้แม่เหล็กและดิสก์ แต่ใช้หน่วยความจำแฟลชชนิดหนึ่งที่เรียกว่า NAND แทน เซมิคอนดักเตอร์ใน SSD จะจัดเก็บข้อมูลโดยการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าของวงจรที่มีอยู่ภายในไดรฟ์ ซึ่งทำให้ SSD ไม่จำเป็นต้องใช้ชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวในการทำงาน ซึ่งต่างจาก HDD
ด้วยเหตุนี้ SSD จึงไม่เพียงทำงานได้เร็วและราบรื่นกว่า HDD (HDD ใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลนานกว่าเนื่องจากลักษณะเชิงกลของแพลตเตอร์และส่วนหัว) แต่ยังมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า HDD ด้วย (HDD มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนจำนวนมาก จึงมีความเสี่ยงที่จะเสียหายและสึกหรอ)
นอกจากคอมพิวเตอร์ส่วนตัวรุ่นใหม่ๆ และแล็ปท็อประดับไฮเอนด์แล้ว ในบางครั้งก็อาจมีการใช้ SSD ในสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และกล้องวิดีโอ
วิธีที่ดีที่สุดในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก
หากพื้นที่บนอุปกรณ์ของคุณใกล้จะหมดแล้ว ก็ถึงเวลามองหาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอื่นเป็นทางเลือก แต่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอกอย่างแฟลชไดรฟ์ก็มีพื้นที่จำกัด เสียหาย หรือสูญหายได้ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือการเก็บไฟล์ทั้งหมดไว้บนคลาวด์ ที่ทั้งปลอดภัย รวดเร็ว และเข้าถึงได้ง่ายกว่า